เลือกรถเข็นผู้ป่วยอย่างไรให้เหมาะกับผู้ใช้งาน

Last updated: 4 ก.ค. 2565  |  952 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รถเข็นผู้ป่วย

เลือกรถเข็นผู้ป่วยอย่างไรให้เหมาะกับผู้ใช้งาน

เทคนิคเลือกรถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะกับผู้ใช้งาน

ในปัจจุบันวีลแชร์หรือ “รถเข็นผู้ป่วย” ถูกนำมานิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่นอกจากจะนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วยแล้ว วีลแชร์ยังถูกใช้เสมือนเป็นยานพาหนะสำหรับผู้สูงอายุ คนท้อง หรือคนพิการอีกด้วย แต่ในบทความนี้เราจะขอพูดถึงประโยชน์และหน้าที่ของวีลแชร์ หรือ “รถเข็นผู้ป่วย” ที่ใช้สำหรับเฉพาะผู้ป่วยและผู้พิการกันก่อน เพราะเมื่อเกิดความเจ็บป่วยเกิดขึ้นจนไม่อาจเคลื่อนไหวหรือเดินได้ตามปกติ วีลแชร์จะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหรือญาติที่ดูแลหาซื้อมาไว้ใช้งาน

 

แล้วจะเลือก “รถเข็นผู้ป่วย” อย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน?

เพราะวีลแชร์แต่ละประเภทที่มีฟังก์ชั่นการใช้ที่ต่างกัน…ย่อมมีราคาที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการพิจารณาความจำเป็นในแต่ละฟังก์ชั่นที่เหมาะกับผู้ใช้งาน จะช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้พิการนั้นมีความสะดวกสบายมากขึ้น ที่สำคัญก็คือการใช้งานที่คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปนั่นเอง ซึ่งหลักในการเลือกซื้อวีลแชร์ หรือ “รถเข็นผู้ป่วย” สามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

  1. ลักษณะของโรคหรือความเจ็บป่วย : โดยทั่วไปแล้วมีโรคและความเจ็บป่วยที่มีความจำเป็นในการใช้วีลแชร์ หรือ “รถเข็นผู้ป่วย” ได้แก่ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต, โรคข้อเข่าเสื่อม, รูมาตอยด์, พาร์กินสัน, ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ,กระดูก,ระบบประสาท หรือได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคก็มีความจำเป็นในการใช้วีลแชร์ในลักษณะที่แตกต่างกันฉะนั้น สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกก็คือ คุณจะต้องรู้ก่อนว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร มีอาการหรือความเจ็บป่วยหนักแค่ไหน เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการประเมินว่า คุณควรจะลงทุนซื้อวีลแชร์ธรรมดาหรือ รถเข็นไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ป่วยที่ต้องใช้วีลแชร์เพื่อเคลื่อนที่เคลื่อนย้ายตัวเองไปยังที่ต่างๆ ได้ในระหว่างรักษาตัว นั่นเอง

  2. ระยะเวลาที่มีความจำเป็นในการใช้ วีลแชร์ หรือ “รถเข็นผู้ป่วย” : เพราะโรคบางโรคหรืออาการบาดเจ็บจะมีความหนักเบาและระยะเวลาในการรักษาไม่เท่ากัน บางโรคหรือบางอาการบาดเจ็บอาจเป็นเพียงระยะ 1-2 เดือน แต่โรค และการบาดเจ็บบางอย่างอาจกินเวลาเป็นหลักปี หรือบางทีไม่สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้ดังเดิมอีกเลยตลอดชีวิต ดังนั้น การเลือกซื้อวีลแชร์จึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบเรื่องระยะเวลาในการใช้ด้วย ซึ่งเราสามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 3 ประเภทตามระยะเวลาที่มีความจำเป็นในการใช้ วีลแชร์ได้ ดังนี้

    • ผู้ป่วยที่ต้องใช้วีลแชร์ หรือ “รถเข็นผู้ป่วย” ตลอดชีวิต : ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง, โรคอัมพาต และผู้เจ็บป่วยหรือผู้พิการจนไม่สามารถยืน เดินได้หรือไม่สามารถทรงตัวได้ตลอดชีวิตผู้ป่วยกลุ่มนี้เหมาะสำหรับวีลแชร์ที่เป็นรถเข็นไฟฟ้าปรับนอนได้ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้นสูญเสียการทรงตัว การนั่งวีลแชร์ที่ไม่สามารถปรับเอนได้ อาจจะไม่สะดวกสบายและคล่องตัวทั้งแก่คนนั่งและผู้ดูแลที่ต้องคอยเข็นไปด้วย ช่วยพยุงผู้ป่วยไม่ให้ไหลลงจากรถเข็นไปด้วย นั่นเอง

      นอกจากนั้นข้อดีของรถเข็นไฟฟ้า ที่สามารถปรับเอนนอนได้นั้นยังสามารถช่วยอำนวยความสะอาดในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้นอกจากการเคลื่อนที่เคลื่อนย้ายตัวแล้ว เช่น ผู้ป่วยสามารถนั่งสระผมบนรถเข็น เพียงแค่ปรับเอนตัวและศีรษะอยู่ในระดับที่ได้สระผมได้ หรือแม้กระทั่งการช่วยให้ผู้ป่วยได้เปลี่ยนอิริยาบถจากเตียงนอน ไปนอนเอนหลังชมสวนหน้าบ้าน หรือนั่งเอนหลังสบายๆ ดูโทรทัศน์กับครอบครัวในห้องรับแขกได้อย่างมีความสุข เพราะรถเข็นไฟฟ้าปรับนอนได้ บางรุ่นจะมีอุปกรณ์เสริมอย่างที่รองศีรษะเพื่อเพิ่มความสบายให้แก่ผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น

    • ผู้ป่วยที่ต้องใช้วีลแชร์ระยะเวลาเป็นปี หรือจะต้องมีติดบ้านไว้สำหรับเป็นพาหนะเพื่อความคล่องตัวในการเดินทาง : เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์, รูมาตอยด์, พาร์กินสัน ฯลฯ หรือกลุ่มผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อ,กระดูกหรือระบบประสาท ที่ต้องฟื้นฟูการเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายจากการกายภาพบำบัด ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บกลุ่มนี้ ว่าไปแล้วมักจะต้องการการเยียวยาหัวใจสูงพอๆ กับกลุ่มแรกที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวได้ตลอดชีวิตเช่นกัน เพราะต้องอดทนกับความลำบากไม่คล่องตัวดังเดิมเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน

      ฉะนั้น วีลแชร์ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต้องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันสูง และสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ เช่น รถเข็นไฟฟ้าพับเก็บได้  เพราะ รถเข็นผู้ป่วย ที่เป็นไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้เอง จะช่วยให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ในการเคลื่อนที่ตัวเองยังสถานที่ต่างๆ อีกทั้งยังใช้เป็นยานพาหนะในการเดินทางที่ไม่ไกลมากๆ ได้เอง เช่น ขับออกไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะในหมูบ้าน, ออกไปพบปะพูดคุยกับเพื่อนบ้าน หรือออกจากบ้านไปรับพัสดุหรือจดหมายหน้าบ้านได้เอง และถ้าเป็นรถเข็นไฟฟ้าพับเก็บได้ ด้วยแล้วก็จะช่วยให้สะดวกกับการพกพารถเข็นของผู้ป่วยให้ออกไปเที่ยวหรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งต่างจังหวัดหรือต่างประเทศพร้อมกับครอบครัว, ผองเพื่อนหรือคนรักได้ดังเดิม

    • ผู้ป่วยที่ต้องใช้วีลแชร์ระยะเวลาเป็นเดือน : เช่น กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคโรคข้อเข่าเสื่อมที่อาการไม่หนักมาก สามารถลุกเดินนั่งนอนได้ปกติ แต่อาจจะไม่ไกลมากหรือเดินนานๆ ไม่ได้ รวมถึงผู้ที่อาจได้รับบาดเจ็บบริเวณขาหรือเท้า เมื่อมีการใช้งานวีลแชร์ในระยะเวลาที่ไม่นานมาก การพิจารณาซื้อรถเข็นผู้ป่วยอาจลงทุนซื้อแบบ Manaul ธรรมดาที่ใช้แรงคนเข็นแบบปกติที่ราคาไม่สูงมาก เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ไปก่อนในช่วงที่ยังเคลื่อนย้ายตัวเองได้ยังไม่สะดวก ก็เพียงพอ

  3. ความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย : โดยพิจารณาจากความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ดังนี้

    • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ : ก็คือกลุ่มคนที่ต้องใช้วีลแชร์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนที่ไปในระยะยาวหลายปี เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์, พาร์กินสัน, ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเกี่ยวกับกระดูกสันหลังหรือระบบประสาท รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถทรงตัวและเคลื่อนไหวเองได้ตลอดชีวิต เช่น ผู้ป่วยอัมพาตและผู้ป่วยติดเตียงวีลแชร์ที่เหมาะสมสำหรับคนกลุ่มนี้ก็คือ รถเข็นไฟฟ้า, รถเข็นไฟฟ้าปรับนอนได้ และรถเข็นไฟฟ้าพับเก็บได้ แม้จะมีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับระยะการใช้งานและฟังก์ชั่นต่างๆ ที่เสริมเข้ามาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น ทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลผู้ป่วย ก็ถือว่าเป็นการลงทุนซื้อที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน

    • ผู้ป่วยที่ยังสามารถเดินเองได้บ้าง แต่ไม่คล่องตัว เช่น ผู้ป่วยรูมาตอยด์, ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ฯลฯ ที่ยังมีความสามารถในการยืนเดินได้ แต่อาจไม่สามารถทำได้นานหรือยืนเดินในระยะไกลไม่คล่องตัว ถ้าพิจารณาแล้วว่างบที่สามารถจ่ายได้มีไม่มาก ก็อาจจะเลือกซื้อเพียงแค่ วีลแชร์ หรือรถเข็นผู้ป่วยแบบธรรมดาที่ใช้แรงคนเข็นแบบปกติก็เพียงพอ แต่หากไม่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณ การเลือกแบบรถเข็นไฟฟ้าพับเก็บได้ ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกกับผู้ป่วยและผู้ดูแลได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นและฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ดีขึ้น เพราะสามารถใช้ชีวิตได้คล้ายกับตอนที่ยังไม่เจ็บป่วยได้นั่นเอง

  4. ความสามารถในการดูแลผู้ป่วย : การพิจารณาเลือกซื้อวีลแชร์หรือรถเข็นผู้ป่วย นั้น นอกจากจะต้องพิจารณาถึงอาการเจ็บป่วย ระยะเวลาในการรักษาจนหายดีแล้ว สิ่งที่ต้องจะพิจารณาเพิ่มเติมด้วยก็คือความสามารถในการดูแลผู้ป่วยด้วย เช่น

    • ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีคนดูแลประจำ : การเลือกวีลแชร์อาจจะต้องมีฟังก์ชั่นในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยมากขึ้น เช่น สามารถขับเคลื่อนได้เอง, รถเข็นไฟฟ้าพับเก็บได้ หรือรถเข็นไฟฟ้าปรับนอนได้ เป็นต้นแต่สิ่งสำคัญที่สุดหากคุณตัดสินใจจะเลือกซื้อวีลแชร์ที่เป็นขับไฟฟ้าขับเคลื่อนเองได้ นั่นก็คือระบบความปลอดภัย เช่น ระบบเบรก หรือเข็มขัดนิรภัยที่เพิ่มเข้ามาในรถเข็นไฟฟ้าแต่ละรุ่น ซึ่งคุณสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ ระบบเบรกแม่เหล็กไฟฟ้าในรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า เพิ่มเติมได้ที่นี่

    • ผู้ป่วยที่มีคนดูแลประจำ : ซึ่งอาจจะเป็นพยาบาลที่จ้างมาดูแล หรือมีลูกหลานดูแลแบบ 24 ชั่วโมง สามารถเลือกวีลแชร์หรือ รถเข็นผู้ป่วย ที่เป็นระบบ Manual ที่ใช้กำลังคนในการขับเคลื่อนได้ หากตั้งงบไว้ไม่มาก แต่ถ้าหากอยากอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมก็สามารถเลือกเป็นแบบรถเข็นไฟฟ้า เพื่อผ่อนแรงผู้ที่ดูแลได้ นอกจากนั้นประโยชน์ของ รถเข็นไฟฟ้าพับเก็บได้ ยังมีอื่นๆ อีก เช่น ลดโอกาสการเป็นอัลไซเมอร์, ป้องกันแผลกดทับหรือป้องกันอาการปวดเมื่อยของผู้ป่วยได้ อ่านบทความเกี่ยวกับ ประโยชน์ของรถเข็นไฟฟ้าแบบพับได้ เพิ่มเติมได้ที่นี่

      นอกจากองค์ประกอบ 4 ข้อที่เราได้กล่าวมา เพื่อเลือกชนิดของรถเข็นผู้ป่วย ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ที่มีภาวะที่แตกต่างกันไปแล้ว ก็ยังมีส่ิงที่คุณจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วย ก็คือ การเลือกวัสดุของวีลแชร์ที่มีความแข็งแรงทนทาน ระบบความปลอดภัยต่างๆ รวมถึงขนาดของเบาะนั่งที่เหมาะสมกับขนาดตัวกับผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อความคุ้มค่า คุ้มราคากับการใช้งานนั่นเอง

และหากคุณกำลังมองหา รถเข็นไฟฟ้าพับเก็บได้ หรือรถเข็นไฟฟ้าปรับนอนได้ สามารถเลือกดูวีลแชร์คุณภาพของ Adler Drive ที่มีคุณสมบัติที่ดีและครอบถ้วน ได้ที่นี่
 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Email : sale.adlerdrive@gmail.com
Tel :  061-712-3773
Line: https://page.line.me/adlerdrive

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้