นำรถเข็นผู้ป่วยขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่?

Last updated: 29 เม.ย 2565  |  11599 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นำรถเข็นผู้ป่วยขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่?

เมื่อเราพาคนในครอบครัวเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ รถเข็นผู้ป่วยและผู้สูงอายุมีความสำคัญในการใช้งาน เพื่อความสะดวกสบายในการทำกิจกรรมนอกสถานที่ และใช้ทุ่นแรงของผู้ดูแลได้อย่างยิ่ง ทำให้หลายๆท่านสงสัยกันว่าเราสามารถนำรถเข็นผู้ป่วยขึ้นเครื่องบินไปด้วยได้หรือไม่? ซึ่งเราก็ได้หาคำตอบมาไขข้อสงสัยให้ทุกท่านแล้วค่ะ

ทั้งนี้ขออ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. CAAT) นะคะ เค้าจะแบ่งรถเข็น/อุปกรณ์ช่วยพยุงชนิดที่ไม่มีแบตเตอรี่และแบบมีแบตเตอรี่ค่ะ

 

รถเข็น/อุปกรณ์ช่วยพยุงที่ไม่มีแบตเตอรี่

รถเข็นและอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนที่ที่มีแบตเตอรี่ (เช่น ไม้เท้า หรือ อุปกรณ์ช่วยเดิน) สามารถนำขึ้นเครื่องเป็นสัมภาระพกพาได้ ให้นำติดตัวขึ้นเครื่องบินได้ ( Carry-on Baggage) หรือใช้ในการเคลื่อนที่ได้จนถึงบริเวณหน้าประตูเครื่องบินหรือบันไดขึ้นเครื่องบิน หลังจากนั้นจะต้องให้เจ้าหน้าที่นำอุปกรณ์ดังกล่าวโหลดไว้ใต้ท้องเครื่องก็ได้เช่นกัน

**ทั้งนี้การรับรถเข็นคืนเมื่อเดินทางถึงปลายทางแล้วขึ้นอยู่กับนโยบายของสายการบิน


รถวีลแชร์ กรณีอยากใช้รถเข็นของตนเองภายในสนามบิน สามารถใช้รถเข็นได้จนถึงประตูเครื่องบิน/บันไดขึ้นเครื่อง และหลังจากนั้นพนักงานสายการบินจะนำเอารถเข็นไปเก็บไว้ใต้ท้องเครื่อง แต่แนะนำให้เช็คอินรถเข็น และใช้รถเข็นที่สายการบินจัดหาให้จะดีกว่า เพราะบางประเทศอาจมีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งไม่อนุญาตให้พนักงานยกของหนัก หรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมในการจองบริการความช่วยเหลือพิเศษ เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎของแต่ละที่ค่ะ 



รถเข็น/อุปกรณ์ช่วยพยุงที่มีแบตเตอรี่

อุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนที่ชนิดมีแบตเตอรี่ (แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และแบตเตอรี่ประเภทอื่น) สายการบินจะไม่อนุญาตให้นำรถเข็นและอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนที่ที่มีแบตเตอรี่ขึ้นห้องโดยสาร จะต้องนำไปโหลดเป็นสัมภาระใต้ท้องเครื่อง โดยต้องดำเนินการจัดเก็บแบตเตอรี่ตามข้อกำหนดของสายการบินนั้นๆ เพื่อการจัดเก็บแบตเตอรี่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ต้องแจ้งข้อมูลของรถเข็น/แบตเตอรี่ (เช่น ชื่อผู้ผลิต) โดยการกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม (แบบฟอร์มข้อมูลรถเข็น/อุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนที่ที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ ) และระบุหมายเลขบุ๊คกิ้งของคุณในขณะที่กรอกแบบฟอร์มดังกล่าว แนะนำดำเนินการล่วงหน้าก่อนกำหนดการเดินทาง

รถวีลแชร์ ที่ใช้แบตเตอรีลิเธียมไอออน ต้องแสดงหลักฐานว่าแบตเตอรี่ได้ผ่านการทดสอบตามคู่มือการทดสอบและกลักเกณฑ์ของสหประชาชาติ (โดยปกติจะขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่) ทั้งนี้ ต้องถอดแบบออกก่อนโหลดใต้ท้องเครื่องบิน แยกใส่ไว้ในกระเป๋าที่เหมาะสม และพกพาไว้ในห้องโดยสาร กำลังไฟฟ้าของแบตเตอรี่ดังกล่าวหนึ่งชุดต้องไม่เกิน 300 Wh ถ้าอุปกรณ์ที่ติดตั้งต้องใช้แบตเตอรี่ 2 ชุด ในการทำงาน กำลังไฟฟ้าของแบตแต่ละชุดจะต้องไม่เกิน 160 Wh

นำรถเข็นวีลแชร์ขึ้นเครื่องบินได้

ดังนั้นหากเรามีการเดินทางไปยังที่ต่างๆ แล้วจำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รถเช็นวีลแชร์ทั้งแบบนั่งธรรมดาหรือแบบไฟฟ้า เราควรเตรียมความพร้อมอย่างไรกันบ้างให้การเดินทางครั้งนั้นให้ราบรื่นที่สุด

1.สอบถามข้อมูลจากสายการบิน การสอบถามไปยังสายการบินนั้นๆ ที่เราจะใช้บริการมีความสำคัญมากอันดับแรก เพราะแต่ละสายการบินอาจจะมีรายละเอียดหรือข้อปฏิบัติที่มีความแตกต่างกันออกไป การสอบถามจะเป็นการเช็คความถูกต้อง และชัวร์ที่สุดค่ะ ไม่มีพลาดแน่นอน

2.การเลือกชนิด และคุณลักษณะของรถเข็นวีลแชร์ ทเราสามารถเลือกรถเข็นได้ทั้งแบบนั่งธรรมดา (Manual Wheelchair) หรือจะเป็นแบบรถเข็นไฟฟ้า(Electric Wheelchair) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของการใช้งานค่ะ หลักๆแล้วควรเลือกรถเข็นที่มีน้ำหนักเบา พับเก็บได้ง่ายดาย ไม่ต้องแกะประกอบหลายส่วน ขนาดพับเล็ก ซึ่งจะทำให้การเดินทางของคุณง่ายขึ้นมากไปอีกขั้นค่ะ ส่วนถ้าเลือกรถเข็นไฟฟ้าแนะนำให้เลือกชนิดแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก แล้วยังตรงตามข้อปฏิบัติของสายการบินส่วนใหญ่ที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้อีกด้วย นอกจากนี้ต้องเช็ครุ่นรถเข็นที่สามารถถอดแบตออกมาจากตัวรถได้ด้วยนะคะ เพราะแบตเตอรี่จะต้องแยกถือออกไปขึ้นเครื่องบินด้วยไม่ได้ถูกโหลดไว้ใต้ท้องเครื่องค่ะ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนและเพื่อนๆที่ร่วมเดินทาง ในสายการบินไฟล์เดียวกัน

3.เช็คสภาพรถเข็นก่อนเดินทาง ก่อนจะนำรถเข็นวีลแชร์ขึ้นเครื่องเพื่อไปใช้งานแนะนำให้มีการเช็คสภาพเบรก แบตเตอรี่ ระบบการทำงานต่างๆ ว่าปกติอยู่หรือไม่ ถ้าเราลืมข้อนี้อาจจะทำให้พกติดไปเสียเที่ยว และเสียเงินฟรีได้หากไปถึงที่หมายแล้วใช้งานไม่ได้นะคะ ห้ามลืม!


เรามีข้อปฏิบัติการจัดเก็บแบตเตอรี่เข็นของสายการบิน Ariasia มาให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ

ขั้นตอนการนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน

ขั้นตอนการนำรถเข็นผู้ป่วยขึ้นเครื่องบิน

**แต่ละสายการบินอาจจะมีรายละเอียด และข้อปฏิบัติ ที่แตกต่างกันออกไปค่ะ Adlerdrive ขอให้ทุกท่านเดินทางอย่างราบรื่นในทุกเส้นทาง

 

รถเข็นไฟฟ้ารุ่นแนะนำขึ้นเครื่องบิน

หมวดหมู่รุ่นน้ำหนักเบา

- รุ่น Ultra Lihgt

- รุ่น Ultra Lihgt Pro

หมวดหมู่รุ่น Premium ใหม่ล่าสุด

- รุ่น Flex Pro

- รุ่น Ultra Comfort

หมวดหมู่รุ่นปรับเอนนอน

- รุ่น 180 Drive Pro

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้