SKU : B5
เครื่องช่วยหายใจ Auto Bipap Micomme รุ่น B5 ลดการนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกแบบต่อเนื่องแบบปรับแรงดันอัตโนมัติ
หมวดหมู่ : เครื่องช่วยหายใจ CPAP, BiPAP , 
Share
เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องแบบปรับแรงดันอัตโนมัติ Micomme รุ่น B5
** ฆพ.263/2567 **
คุณสมบัติทั่วไป
1. เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกแบบต่อเนื่องแบบปรับแรงดันอัตโนมัติ
2. ตัวเครื่องมีหน้าจอแสดงผลเพื่อตรวจสอบการใช้งาน และตรวจเช็คค่าการใช้งานของผู้ใช้ผ่านหน้าจอได้
3.. มีช่องต่อ USB Flash Disk เพื่อนำข้อมูลไปอ่านข้อมูลผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
4. ตัวเครื่องมี wifi ในตัว สำหรับโอนถ่ายข้อมูล
5. มีแผ่นกรองอากาศเพื่อกรองอากาศสำหรับหายใจให้ปราศจากสิ่งสกปรกในอากาศ
6. มีชุดให้ความชื้นพร้อมใช้งานภายในตัวเครื่อง โดยสามารถปรับระดับความชื้นได้
7. ใช้ไฟฟ้า 100-240 VAC , 50-60 Hz 2.8 รับประกันคุณภาพ 2 ปี
8. ตัวเครื่องสามารถถอดประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น หม้อต้ม ได้อย่างอิสระ
คุณสมบัติทางเทคนิค
1. สามารถเลือกโหมดการทำงานได้ดังนี้
1.1 APAP
1.2 CPAP
1.3 BiPAP
1.4 Auto BiPAP
2. สามารถปรับตั้งแรงดันบวกต่อเนื่อง CPAP/BPAP ได้ตั้งแต่ 4 ถึง 30 cmH2O
3. สามารถตั้งค่า Ramp Time ได้ 0 ถึง 45 นาที
4. ปรับตั้งค่าแรงดัน Initial Pressure ได้ 4 cmH2O
5. ตัวเครื่องสามารถแสดงผลค่า AHI, P90 , Used Time , Average Pressure , Total Time ได้
6. ตัวเครื่องมีระบบ Leak Reminder
5. ระบบลดแรงดันจังหวะหายใจออก ช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น Rise Time 1-4 ระดับ
7. ตัวเครื่องมีระบบ PreHeat ภายใน 5 นาทีก่อนใช้งาน
8. ระบบ Auto Drying ช่วยให้ตัวเครื่องมีอายุการใช้งานนานขึ้น และลดการสะสมของเชื้อโรค
9. ระบบช่วยลดแรงดันจังหวะหายใจออก (COMF) ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น ปรับได้ 1 - 3 ระดับ
10. ปรับ Rise Time ได้ 1 - 4 ระดับ
อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน
1. ชุดสายหายใจพร้อมใช้งาน จำนวน 1 ชุด/เครื่อง
2. หน้ากากช่วยหายใจ จำนวน 1 ชิ้น/เครื่อง
3. คู่มือการใช้งานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละ 1 เล่ม
CPAP Therapy คืออะไร
คำว่า CPAP นั้นย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure เป็นการรักษาที่ได้ประสิทธิผลดีที่สุดวิธีหนึ่งในการรักษา ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome, OSAS) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการในระดับปานกลาง ถึง รุนแรง CPAP มีหลักการในการรักษาคือ การเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอ และโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน โดยลมที่เป่าด้วยความดันนี้มักเป็นเพียงอากาศปกติ ไม่ใช่การให้ออกซิเจนตามโรงพยาบาล (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็นมากเท่านั้น)
เครื่อง CPAP มีส่วนประกอบและรูปร่างหน้าตา เป็นอย่างไร
ปัจจุบันมีเครื่อง CPAP อยู่หลายแบบเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามส่วนประกอบของเครื่อง CPAP หลัก ๆนั้นจะคล้ายกัน ได้แก่ 1. ส่วนของเครื่องสร้างความดันลม 2. ส่วนของหน้ากากและสายรัดศีรษะ (CPAP Mask) 3.ส่วนของท่อลม และ 4.อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น เครื่องอบไอน้ำ หรือหน้ากากสำรอง เป็นต้น
ควรเลือกรักษาด้วย CPAP แบบใด
ก่อนการรักษาด้วย CPAP ท่านต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ รวมถึงต้องได้รับการตรวจสุขภาพการนอนหลับก่อนเสมอ เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องอันจะใช้ในการอ้างอิง เพื่อดูแลรักษาท่านในระยะยาวต่อไป และเมื่อท่านร่วมตัดสินใจกับแพทย์ว่า เป็นการรักษาที่เหมาะสมกับท่านแล้ว ท่านต้องตัดสินใจเลือกประเภทของเครื่อง เนื่องจากในปัจจุบัน มีเครื่อง PAP อยู่หลายแบบ ซึ่งแบ่งง่าย ๆ จะเป็น 1. เครื่องเป่าความดันลมแบบธรรมดา หรือ Manual CPAP 2.เครื่องเป่าความดันลม 2 ระดับ (Bilevel PAP หรือ BiPAP) และ 3. เครื่องเป่าความดันลมแบบปรับความดันอัตโนมัติ (Auto-adjusting PAP หรือ APAP) ในกรณีทั่วไปการใช้เครื่องแบบธรรมดาก็อาจเพียงพอซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบอื่น ท่านจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะว่าแบบใด และความดันลมเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับภาวะโรคของท่านโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้อาจมีรายละเอียดพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งท่านต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ของท่านเองด้วย
CPAP มีวิธีใช้อย่างไร
การใช้เครื่อง CPAP นั้น จะเริ่มใช้เฉพาะเวลาที่ท่านกำลังจะนอนหลับ โดยท่านควรใช้ตลอดทั้งคืนและทุกคืนให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวของท่าน วิธีการใช้ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน ซึ่งในส่วนรายละเอียดเล็กน้อยทางเทคนิคเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านนี้จะช่วยให้คำแนะนำท่านได้ ขั้นตอนง่ายๆ เช่นเพียงเปิดเครื่องก่อน เช็คระดับความดันลม และสวมหน้ากาก เพื่อให้ลมเป่าผ่านทางท่อเข้าสู่ทางเดินหายใจอย่างถูกต้อง แล้วจึงเข้านอน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักใช้เพียงหน้ากากที่ครอบจมูก (Nasal Mask) แต่บางครั้งอาจใช้หน้ากากแบบที่ครอบทั้งจมูกและปาก (Full-Face Mask) และน้อยรายมากที่จะใช้หน้ากากครอบเฉพาะบริเวณปาก (Oronasal mask)
ประโยชน์ หรือ ข้อดี ของการรักษาด้วย CPAP
การรักษาด้วยเครื่อง CPAP นั้นตามรายงานการวิจัยทั่วโลก จัดว่าเป็นการรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับระดับปานกลางหรือรุนแรง ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในแบบที่ไม่ต้องผ่าตัด ถ้าท่านได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและปรับความดันที่เหมาะสมกับท่านที่สุดโดยแพทย์เฉพาะทาง และท่านได้ใช้เครื่องตลอดทั้งคืน จะข้อดีมีทั้งในระยะสั้น คือ ท่านจะไม่มีอาการนอนกรนและจะนอนหลับได้ดีขึ้นพร้อมกับได้รับอากาศอย่างเต็มที่ ตื่นขึ้นมาจะสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย หรือ ความง่วงนอนตอนกลางวันอย่างที่ท่านรู้สึกความแตกต่างได้ รวมถึงในระยะยาวจะลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนหรืออาการอื่นๆที่เกิดจากภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับด้วย โดยหากท่านติดตามดูแลกับแพทย์อย่างใกล้ชิด จะมีความเสี่ยงในการรักษาน้อย
รศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ความแตกต่างระหว่าง CPAP และ BiPAP คืออะไร?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีและผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าคนจำนวนมากต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย อาการที่พบบ่อยคือการนอนกรนมากเกินไป แต่ก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้นรวมถึงการสูญเสียความทรงจำ, งุนงง, หงุดหงิด, ความรู้สึกทั่วไปของความรู้สึกป่วยไข้และในกรณีที่รุนแรงแม้กระทั่งความตาย
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับรุนแรงสามารถรักษาด้วยเครื่องเพิ่มแรงดันอากาศทางบวกอย่างต่อเนื่อง (CPAP) หรือเครื่องแรงดันบวกทางเดินหายใจ Bi-Level Positive (BiPAP) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ตัวเลือกระหว่าง CPAP และ BiPAP นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะหยุดหายใจขณะหลับและความรุนแรง
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสองเครื่องคือแรงดันที่ใช้เพื่อเพิ่มการไหลของอากาศ ด้วยเครื่อง CPAP การไหลของอากาศคงที่ ตรงกันข้ามเครื่อง BiPAP ให้แรงดันที่มากขึ้นระหว่างการสูดดมและแรงดันที่เบากว่าในระหว่างการหายใจออก เนื่องจากความแตกต่างเหล่านี้ CPAP และ BiPAP จึงถูกใช้เพื่อรักษาความผิดปกติที่แตกต่างกันเล็กน้อย CPAP นั้นเหมาะกับการหยุดหายใจขณะหลับและ BiPAP มักใช้รักษาอาการหยุดหายใจขณะหลับกลาง
การวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยผ่านการศึกษาการนอนหลับเพื่อกำหนดรูปแบบการนอนหลับโดยรวม บ่อยครั้งที่อาการหลายอย่างที่ดูเหมือนจะชี้ไปยังเงื่อนไขอื่นพิสูจน์ว่าเกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นสาเหตุให้ผู้ประสบภัยหยุดหายใจเป็นระยะเวลาหนึ่งระหว่างการนอนหลับและมักพบคู่สมรสหรือคู่ครองที่มีอาการเป็นพยานในเหตุการณ์ตอนกลางคืน เมื่อมีการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะผู้ป่วยและแพทย์สามารถตัดสินใจได้ว่าจะรักษาสภาพอย่างไร
อีกวิธีในการเลือกระหว่าง CPAP และ BiPAP คือความสะดวกสบาย หากผู้ป่วยลอง CPAP และพบว่าแรงกดดันต่อเนื่องไม่สบายใจ BiPAP อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ผู้ป่วยบางรายพบว่าความดันอากาศคงที่ทำให้การหายใจออกลำบากหรืออึดอัด การไหลเวียนของอากาศที่ลดลงในระหว่างการหายใจออกในเครื่อง BiPAP สามารถขจัดความรู้สึกไม่สบายนี้ได้
CPAP และ BiPAP แต่ละเครื่องมีเครื่องที่ให้อากาศไหลเวียนรวมถึงหน้ากากที่สวมไว้บนใบหน้าของผู้ป่วยในตอนกลางคืน แถบยางยืดที่มีน้ำหนักเบาถือหน้ากากได้ ด้วยการหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้นทางเดินหายใจมีแนวโน้มที่จะปิดในระหว่างการหายใจทำให้ CPAP เหมาะสมกว่าเพราะจะสร้างการไหลเวียนของอากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อต้านการอุดตัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับกลางซึ่งปัญหาการหายใจสามารถติดตามไปยังระบบทางเดินหายใจกลางได้บ่อยครั้งจะได้รับการบำบัดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย BiPAP
อ้างอิงจาก www.netinbag.com
วิธีการเลือกหน้ากาก CPAP ให้เหมาะกับการใช้งาน
หน้ากากสำหรับเครื่องช่วยหายใจ มีความสำคัญอย่างมากในการใช้งานเครื่องช่วยหายใจเนื่องจากการที่เครื่องช่วยใจจะปล่อยแรงดันลมออกมานั้น จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับเป็นทางเดินอากาศไปยังผู้ใช้งาน รวมถึงหน้ากากแต่ละแบบก็มีความเหมาะสมกับผู้ใช้งานแตกต่างกันออกไป
หน้ากาก CPAP ถูกแบ่งออกหลักๆเป็น 3 ประเภท
1. หน้ากากแบบครอบจมูก (Nasal Mask)
ออกแบบมาเพื่อครอบบริเวณจมูกของผู้ใช้งาน สามารถใช้งานได้ง่าย เหมาะกับผู้ที่ไม่เคยใช้งานมาก่อน
2.หน้ากากแบบเต็มหน้า ครอบจมูกและปาก (Full Face Mask)
หน้ากากจะครอบทั้งจมูกและปากของผู้ใช้งาน ทำให้ไม่เกิดการรั่วของแรงดันลมออกทางปาก ใช้แก้ปัญหาสำหรับผู้ป่วยที่นอนอ้าปาก แต่อาจจะทำให้คอแห้งได้เนื่องจากลมจะผ่านทางปากของผู้ใช้งานตลอดเวลา และในบางครั้งอาจทำให้มีลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
3. หน้ากากแบบสอดจมูก (Nasal Pillow Mask)
เป็นหน้ากากประเภทที่ไม่มีการครอบจมูกหรือปากของผู้ใช้งาน ทำให้รู้สึกสบายมากกว่าหน้ากากแบบอื่นๆ โดยการใช้งานนั้น เพียงแค่นำหน้ากากเสียบเข้ากับรูจมูกเท่านั้น ข้อดีคือสะดวกสบายไม่อึดอัด หรือผู้ใช้งานที่ไม่สามารถใช้งานหน้ากากแบบครอบ หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ สามารถใช้งานได้ แต่ข้อเสียคือ อาจจะทำให้มีลมรั่วออกมาได้ง่ายกว่าหน้ากากรุ่นอื่น โดยเฉพาะในช่วงแรงดันสูงๆ หน้ากากแบบนี้จะเหมาะกับผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์มาบ้างแล้ว
โรคหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร
อาการหยุดหายใจขณะหลับ หรือ Sleep Apnea คือ ความผิดปกติของของการหายใจในขณะที่หลับอยู่ เช่น มีอาการหายใจแผ่ว หายใจสะดุด หรือหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ทำให้ร่างกายมีภาวะขาดออกซิเจน เป็นสาเหตุให้อาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น
โรคหยุดหายใจขณะหลับนั้น สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ตามสาเหตุของการเกิดโรค
1. อาการหยุดหายใจที่เกิดจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ (OSA)Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA เป็นประเภทของโรคหยุดหายใจขณะหลับที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ โดยเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจตอนบน เช่น จมูก ช่องปาก และลำคอ มีผลทำให้ทางเดินหายใจตอนบนตีบแคบลง อากาศไม่สามารถผ่านไปได้ ร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนน้อยลง การทำงานของกล้ามเนื้อจึงลดลงหรือหยุดทำงาน สมองจึงสั่งให้ผู้ที่นอนหลับมีอาการสะดุ้งตื่นและกลับมาหายใจอีกครั้ง เมื่อเกิดขึ้นซ้ำๆ ก็จะทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถหลับได้ลึกในระยะเวลานานๆ
2. อาการหยุดหายใจที่เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง (CSA)
Central Sleep Apnea หรือ CSA เป็นประเภทที่พบได้ไม่มาก มีสาเหตุมาจากการสั่งการของสมองส่วนกลางไม่ปกติ อาจเป็นผลข้างเคียงมาโรคทับซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเนื้องอก โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งสมอง หรือยานอนหลับ ที่มีผลต่อระบบสมองก็อาจเป็นสาเหตุได้ สมองไม่สามารถสั่งงานได้ปกติในช่วงนอนหลับ จึงเกิดภาวะผิดปกติในการหายใจ หายใจแผ่ว หรือหยุดหายใจขณะหลับ
3. อาการหยุดหายใจแบบผสม (Mixed Sleep Apnea)
อาการหยุดหายใจขณะหลับแบบผสม พบได้ไม่มากเท่า OSA แต่พบได้มากกว่า CSA อาการหยุดหายใจประเภทนี้จะมีทั้งสองแบบ ทั้งหยุดหายใจจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ และสมองส่วนกลางสั่งการไม่ปกติรวมกัน
เช็คด่วน คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
มีอาการนอนกรนเสียงดัง และกรนเป็นประจำแทบทุกคืน
บางครั้งมีอาการนอนกรนแล้วหยุดเป็นพักๆ และหายใจแรง หายใจดัง
รู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม ง่วงและอ่อนเพลียระหว่างวัน
ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ไม่มีสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ขี้เหวี่ยง ขี้วีน
ตื่นแล้วรู้สึกไม่สดชื่น บางครั้งมีอาการปวดหัวหลังจากตื่นนอน
ความต้องการทางเพศลดลง
เงื่อนไขอื่นๆ
สินค้าผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข (อย.) นำเข้าถูกต้องตามกฏหมาย
รับประกันศูนย์ไทย 2 ปี
มีศูนย์ซ่อมบริการ ปรึกษาการใช้งานตลอดอายุการใช้งาน
บริการจัดส่งฟรี lalamove มีบริการ Set Up ให้ฟรี พร้อมแนะนำการใช้งานทางออนไลน์
ลูกค้าต่างจังหวัด จัดส่งทางขนส่ง พร้อมแนะนำการใช้งานผ่านสื่อออนไลน์ฟรี!
กรณีลูกค้าต่างจังหวัดชำระเงินปลายทาง COD คิดค่าบริการเพิ่ม 3% จากราคาสินค้า
อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
ใบรับแจ้งรายการละเอียดที่ 65-2-2-2-0006432
หมายเหตุ : ติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย
โทร. 094 308 4455
เวลาทำการ : เปิดทำการทุกวัน เวลา 08.30-17.30 น.
Adler Drive ศูนย์นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์ และมีความเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายโดยมีรถเข็นไฟฟ้า (Electric Wheelchair)ให้เลือกมากมายอาทิวีลแชร์ไฟฟ้าพับได้ รถเข็นไฟฟ้ารุ่นน้ำหนักเบา รถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอน นอกจากนั้นเรายังมีจำหน่ายเครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา สำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ คนพิการ อันดับ 1 ในไทย แข็งแรงทนทาน ใช้งานง่าย คุณภาพมาตรฐาน มอก. พร้อมด้วยบริการจัดส่งและติดตั้ง รับประกัน 3 ปี มีทีม service บริการตลอดอายุการใช้งาน และด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 20 ปี ที่ให้ลูกค้าไว้วางใจ สามารถดูสินค้าตัวจริงได้ที่ ศูนย์ Adler Drive ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านคุณทั่วไทย จัดส่งและติดตั้งพร้อมเจ้าหน้าที่แนะนำการใช้งานที่บ้านในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล