เลือกเตียงผู้ป่วยอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียง

Last updated: 22 มิ.ย. 2565  |  1183 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เลือกเตียงผู้ป่วยอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียง

เลือกเตียงผู้ป่วยอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียง

ทำความรู้จักประเภทเตียงผู้ป่วย

      ปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” โดยสมบูรณ์แบบ จากผลสำรวจของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เผยถึงจำนวนผู้สูงอายุสะสมในปี 2564 มีมากถึง 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด หากเจาะลึกลงไปในกลุ่มผู้สูงอายุก็จะมีผู้ป่วยติดเตียงอยู่ประมาณ 0.39% และกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงนี่แหละ ที่ทำให้นวัตกรรม เตียงผู้ป่วย มากมายเกิดขึ้น เพราะ ในประเทศไทยยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านเตียงผู้ป่วยน้อยมาก และฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ผู้ป่วยอย่าง เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ เตียงคนไข้ไฟฟ้า ก็ค่อนข้างมีน้อย

      คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่าไม่อยากมีเตียงผู้ป่วยไว้ในบ้าน อาจจะเพราะเรื่องความเชื่อ หรือความชอบส่วนบุคคล และมักจะมองว่า เตียงผู้ป่วย ควรใช้แค่ที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีนวัตกรรมเริ่มเปลี่ยนไป เพราะ สิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย คือ สิ่งที่จำเป็นสูงมาก ๆ จึงมีการผลิตเตียงผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าออกมาหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีความเหมาะสมต่อบุคคลที่มีลักษณะและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป เช่น เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ เตียงคนไข้ไฟฟ้า เตียงสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด เตียงสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หรือเตียงสำหรับผู้สูงอายุ

เตียงผู้ป่วย vs เตียงธรรมดา

      เราอาจจะคุ้นชินตากับสังคมผู้สูงอายุปัจจุบันที่นอนติดเตียงอยู่ที่บ้านแต่ค่อนข้างจะไม่อำนวยเท่าไรนัก ซึ่งเตียงผู้ป่วย เป็นเตียงที่ถูกออกแบบพิเศษเฉพาะผู้ป่วยจริง ๆ เพื่อให้การใช้งานมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและมีฟังก์ชันที่พิเศษในการช่วยเหลือตนเองดีกว่าเตียงนอนปกติทั่วไป เช่น สามารถปรับส่วนหัว ส่วนท้าย หรือปรับความสูง-ต่ำของเตียงได้

      นอกจากนี้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตและการปรับสรีระร่างกาย และง่ายต่อการดูแลผู้ป่วยทำให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุเป็นเรื่องง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ป่วยในกรณีต่าง ๆ เมื่อคลาดสายตาจากผู้ดูแล และปัจจัยหลัก ๆ ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย มักจะไม่อยากเป็นภาระผู้ดูแลฟังก์ชันที่ผู้เชี่ยวชาญออกแบบมายังช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เป็นการเสริมสภาพจิตใจซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกดีและตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองของผู้ใช้งานได้อีกด้วย 

ทำความรู้จักประเภทเตียงผู้ป่วย

      ก่อนอื่นที่คุณจะเลือกซื้อ คุณต้องสำรวจจุดประสงค์ของคุณเองว่าอยากได้เตียงผู้ป่วยที่ตอบโจทย์แบบใดบ้างและอีกข้อสำคัญคือควรทราบข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของเตียงผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ซึ่งข้อกำหนดมีดังนี้
  1. เตียงต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 90×200 เซนติเมตร เพื่อให้ใช้งานสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแลได้ใช้งานอย่างสะดวกสบาย
  2. ต้องมีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 25-40 เซนติเมตร และควรมีช่องว่างใต้เตียงเพื่อกันการเตะขอบเตียง
  3. ความสูงของราวกั้นเตียงผู้ป่วยเมื่อวัดจากฟูก ต้องไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
  4. วัสดุที่ใช้ผลิตต้องมีความแข็งแรง ไม่เกิดสนิม พื้นผิวเรียบ ง่ายต่อการทำความสะอาด หากวัสดุก่อให้เกิดสนิมได้ จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน เพราะ การดูแลผู้ป่วยต้องมีความละเอียดอ่อนมาก ๆ
  5. ระบุน้ำหนักสูงสุดที่เตียงผู้ป่วยสามารถรับไหว เพื่อป้องกันอันตรายกับผู้ป่วยที่เกิดจากอะไหล่หักหรือหลุด

ประเภทของเตียงสำหรับผู้ป่วยติดเตียงมี 2 แบบหลัก ๆ คือ เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ดังนั้นนอกจากข้อกำหนดมาตรฐานของเตียงที่คุณควรทราบแล้ว ยังมีความแตกต่างและฟังก์ชันของเตียง 2 ประเภทนี้ 

  1. เตียงผู้ป่วยมือหมุน คือ เตียงผู้ป่วยแบบเก่า ที่ใช้แรงจากมือหมุนปรับระดับได้ตามความต้องการ เรามักจะพบเห็นการใช้เตียงมือหมุนในภาพยนต์หรือละครสมัยก่อน สำหรับเตียงประเภทนี้รูปแบบการใช้งานก็จะตามชื่อเลยคือต้องใช้มือในการปรับหมุนส่วนหัวเตียงหรือปลายเตียง ส่วนใหญ่ที่ปรับจะอยู่ด้านท้ายจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเพราะต้องใช้แรงพอสมควร เป็นเตียงผู้ป่วยราคาถูก ราคาไม่สูง มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป ราคาถูกกว่าแบบอื่นๆ มีให้เลือกใช้กันตามงบประมาณ เพราะเป็นนวัตกรรมเตียงผู้ป่วยแบบแรก ๆ ใช้งานได้ตลอดเวลา แม้ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า หรือ กรณีไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน และเคลื่อนย้ายง่าย เพราะน้ำหนักเบากว่าเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า แต่ที่ต้องระวัง คือผู้ดูต้องก้มและใช้แรงหมุนเพื่อปรับระดับ อาจส่งผลเสียกับสุขภาพของผู้ดูแลในระยะยาวได้ เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุนอาจจะไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ เพราะต้องใช้แรงและลุกขึ้นมาหมุนเอง


  2. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงผู้ป่วยระบบไฟฟ้า เป็นเตียงที่มีการทำงานทุกอย่างนั้นจะควบคุมผ่านรีโมทคอนโทรล ไม่ว่าจะเป็นส่วนหัวเตียง ท้ายเตียง หรือบางรุ่นสามารถปรับระดับความสูงได้ด้วยขึ้นกับฟังก์ชั่นที่ให้มา มีให้เลือกหลากรุ่นหลายราคาตามงบประมาณและฟังก์ชันที่ต้องการเพิ่ม รวมถึงดีไซน์การออกแบบก็ยังสวยงามทันสมัย ลดงานการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถปรับเตียงได้ด้วยตัวเองทันที แม้จะเป็นผู้ป่วยติดเตียงก็สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทำให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้นได้เช่นกัน

      ถ้าคุณต้องการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามีก็ถือ เป็นคำตอบที่ดี นอกจากจะใช้กับผู้ป่วยติดเตียงได้ดีแล้วยังเหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ได้ดีเช่นกัน

เลือกเตียงผู้ป่วยอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ป่วยติดเตียง

  1. เลือกตามฟังก์ชั่นการใช้งาน ว่าต้องการปรับท่าทางหรือความสูงแบบใดบ้าง ตามรูปแบบของไกร์ที่ติดตั้งมากับเตียง

  2. เลือกความแข็งแรงทนทานของเตียง โดยดูจากรายละเอียกการผลิตจากวัสดุที่ไม่บอบบางจนเกินไป ไม่เกิดเป็นสนิมง่ายเมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่ง สามารถรับน้ำหนักได้ 130-150 กิโลกรัมขึ้นไป เนื้อผ้าหรือรูปแบบของเตียงต้องไม่เสี่ยงเกิดแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หากเกิดแผลกดทับจะเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกมากมาย นอกจากนี้ยังต้องมีความกว้างและความยาวที่เพียงพอกับขนาดสรีระร่างกายของผู้ป่วยอีกด้วย

  3. ตรวจสอบระบบความปลอดภัยที่ติดตั้งมาให้กับเตียงผู้ป่วย เช่น มีตัวล็อกล้อไม่ให้เคลื่อนไหวได้เอง, มีราวข้างเตียงไว้ยึดเกาะหรือกันผู้ป่วยไม่ให้พลิกแล้วพลาดตกลงมาได้ , ติดตั้งสัญญาณฉุกเฉินเอาไว้เรียกผู้ดูแล

  4. เลือกซื้อจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน มีรายละเอียดของการผลิตหรือนำเข้าชัดเจน โดยเฉพาะหนังสือรับรองการประกอบและนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงงานที่ผลิตต้องได้มาตรฐานสากล ISO 13485 หรือ ISO 9001 หรือ IATF16946 อย่างแบรนด์ของเรา Adler Drive ได้รับการรองรับจากมาตรฐานทั้งหมด มีบริการหลังการขายโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ

  5. เลือกซื้อตามงบประมาณที่มี ลองสอบถามเปรียบเทียบจากผู้ขายหลาย ๆ เจ้า เทียบในรุ่นใกล้เคียงหรือสเป็กที่งบประมาณตามกำหนด แต่ยังคงความต้องการฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสมกับที่คุต้องการมากที่สุด อย่าง Adler Drive มีผู้เชี่ยวชาญให้ปรึกษาและสเป็กเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าหลากหลายรุ่น ตอบโจทย์ทั้งฟังก์ชันและบัทเจ็ตที่กำหนดรวมถึงโปรโมชั่นการจัดส่งสินค้าฟรีทั่วประเทศ

     แล้วถ้าคุณอ่านมาถึงจุดนี้ลองสอบถามผู้เชี่ยวชาญของ Adler Drive ได้ที่ข้อมูลการติดต่อที่ให้ไว้ด้านล่างได้ทันที การันตีเกรดวัสดุคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณ์นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์นานกว่า 20 ปี ผ่านมาตรฐานการรับรองมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานสากล ISO 13485 หรือ ISO 9001 หรือ IATF16946 ให้บริการครอบคลุมทั้ง รถเข็นไฟฟ้า วีลแชร์ไฟฟ้า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงคนไข้ไฟฟ้า เตียงผู้ป่วยมือหมุน และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีในด้านการบริการหลังการขาย พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ทุกรายการ มีบริการศูนย์ซ่อมตลอดอายุการใช้งาน

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Email : sale.adlerdrive@gmail.com
Tel :  061-712-3773
Line: https://page.line.me/adlerdrive

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้